Monday, January 13, 2014

สนใจทำงานกับ 9Pi? ดูนี่เลย

Current Available Position as of: 14/01/14
ตำแหน่งที่รับสมัคร ณ วันที่: 14/01/14

Software Development Team
  • Software Development Manager
  • User Interface Designer
  • Software Developer
  • Junior User Interface Designer, Co-op Intern (สหกิจศึกษา)
  • Junior Software Developer, Co-op Intern (สหกิจศึกษา)
Marketing Team
  • Content Marketing Associate
  • Digital Marketing Associate
Please click on the link below to see Job Description
กรุณากดไป link ข้างล้างนี้เพื่อดูรายละเอียดงานดังกล่าว


------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Company Detail: 9Pi Company (9Pi) is a Software Development firm that focuses on developing cloud-based enterprise solutions for Thai businesses

9Pi is an officially registered partner and supplier of Google Asia Pacific Pvt Lte (Google Singapore) and is currently working together on education initiatives in Thailand

The firm is currently undertaking 2 projects, consisting of restaurant management solution (Ginkao) and university management solution (Prinya). Both solutions are entirely designed and developed by 9Pi.

For more information about 9Pi and the projects, please visit www.9pi.co.th

รายละเอียดบริษัท: บริษัท ก้าวไป จากัด (9Pi Company) เป็นบริษัทพัฒนาซอตฟ์แวร์ที่เน้นการประยุคใช้เทคโนโลยี คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ในการออกแบบและพัฒนาระบบต่างๆเพื่อตอบโจทย์ของบริษัทและองค์กรต่างๆในประเทศไทย

บริษัท ก้าวไป จากัด เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับ Google Asia Pacific Pvt Lte (Google Singapore) โดยที่มีโครงการในการร่วมพัฒนาระบบให้กับองค์กรการศึกษาในประเทศไทย

บริษัท ก้าวไป จากัดนั้นมี 2 ระบบที่อยู่ในการพัฒนา ประกอบไปด้วยระบบบริหารร้านอาหารและระบบบริหารองค์กรการศึกษา ซึ่งบริษัท ก้าวไป เป็นผู้ออกแบบและพัฒนาทั้ง 2 ระบบทั้งหมด

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.9pi.co.th


Read More

3 เทรนด์ Ed-Tech ของค.ศ. 2013

ในปีค.ศ. 2013 ที่ผ่านมา มีวิวัฒนาการอยู่หลายประเภทที่เป็นที่สนใจของผู้ชื่นชอบเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D-Printer) หุ่นยนต์ส่งของ (Delivery Drone) อุปกรณ์สวมใส่ (Wearables เช่น Google Glass และ Pebbles Smartwatch) และสกุลเงินดิจิตอล (Bitcoin) แต่สำหรับในแวดวงการศึกษา ค.ศ. 2013 ได้นำวิวัฒนาการอะไรมาบ้าง มาดูกัน


  1. MOOC - (มูคก์) - ย่อมาจาก Massive Open Online Course น่าจะเป็น EdTech ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปีค.ศ. 2013 ที่ผ่านมา MOOC คือระบบการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านเว็ปที่รับสมัครนักเรียนนักศึกษาทุกท่านที่สนใจ ข้อแตกต่างหลักระหว่าง MOOC และ E-Learning ก่อนก็คือสังคมออนไลน์หรือ Online Community ระหว่างนักเรียน อาจารย์ และผู้ช่วยสอน จึงทำให้การเรียนการสอนบน MOOC เป็นที่น่าสนใจกว่า E-Learning ก่อนๆเพราะผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบและเรียนรู้ไปกับผู้ใช้งานคนอื่นๆ

    หลักสูตรส่วนใหญ่ที่อยู่บน MOOC นั้นไม่มีค่าใช้จ่าย จึงเป็นที่สนใจต่อนักเรียนนักศึกษาเป็นจำนวนมาก

    ในปีที่ผ่านมาเราเห็นบริการ MOOC เพิ่มขึ้นมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น Khan Academy, Coursera, edX และ Udemy โดยที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอย่างมากมายที่เข้าร่วมให้บริการ เช่น MIT มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นในแถบอเมริกา ในขณะที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน มหาวิทยาลัยโตเกียว ก็เป็นตัวอย่างมหาวิทยาลัยในแถบเอเชียที่เริ่มให้บริการผ่าน MOOC

    ปีค.ศ. 2013 ถือว่าเป็นปีทองของ MOOC และดูเหมือนว่าความสนใจดังกล่าวน่าจะพัฒนาเพิ่มขึ้นในปีค.ศ. 2014 สำหรับในประเทศไทยแล้ว MOOC ยังคงไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักและอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจและสามารถนำไปใช้ในปี ค.ศ. 2014
     
  2. Mobile Learning - ตัวเลขยอดขายของสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตใน 5 ปีหลังนั้นมีการเติมโต
    อย่างรวดเร็วซึ่งสะท้อนการใช้งานเทคโนโลยีของสังคมปัจจุบันเป็นอย่างดี ในขณะที่จำนวนยอดขายของพีซีนั้นตกลงทุกปี บริษัทวิจัยการตลาดหลายที่เช่น IDC Gartner และ Forrester เชื่อว่า
    ยอดขายแท็บแล็ตจะแซงยอดขายพีซีภายในปีค.ศ. 2015

    ปัจจุบันผู้ใช้งานเทคโนโลยี โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา ใช้เวลาส่วนใหญ่กับสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตโดยจะใช้คอมพิวเตอร์เมื่อมีความจำเป็นจริงๆเท่านั้น เช่น พิมพ์รายงานหรือทำงานอื่นๆที่ใช้การประมวลผล (Processing Power) เยอะๆ

    ฉะนั้นแล้ว สถาบันการศึกษาหลายที่จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่ผ่าน Mobile Device ต่างๆอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เพื่อที่จะทำให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าหาถึงสื่อการเรียนการสอนดังกล่าวผ่านอุปกรณ์ที่ตัวเองคุ้นเคยได้ หลายสถาบันได้เลือกที่จะทำให้สื่อการเรียนการสอนประมวลผลได้ดีกับมือถือ (Mobile Optimized) ในขณะที่บางที่ก็เลือกที่จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นการเรียนการสอนขึ้นมาเองเลย

    เทรนด์ดังกล่าวน่าจะเป็นที่นิยมขึ้นไปเรื่อยๆพร้อมๆกับยอดขายของสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตที่เพิ่มขึ้นทุกปี
     
  3. Social Media - โซเชียลมีเดียนั้นได้มีผลกระทบต่อวิธีการสื่อสารของผู้คนทุกภาคส่วนตั้งแต่ที่ระบบดังกล่าวเป็นนิยมขึ้นมา ซึ่งสังคมการศึกษาก็เป็นหนึ่งในนั้น TechInAsia ได้เปิดเผยสถิติจากทางบริษัท Zocial Inc ว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวน 18 ล้านคน นอกจากนี้ Social Bakers ได้เปิดเผยต่อว่า 32.9% ของจำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียนั้นอยู่ในกลุ่ม 18 - 24 ปี
    และมากถึง 63.4% สำหรับกลุ่ม 18 - 34 ปี

    เพราะฉะนั้นแล้วจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่เราเริ่มเห็นครูและอาจารย์ในประเทศไทยและต่างประเทศที่หันมาใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook ในการสื่อสารกับนักเรียน

    เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นักเรียนนักศึกษาสามารถสื่อสารกับครูและอาจารย์ได้ตลอดเวลา จึงทำให้ขีดจำกัดของการเรียนการสอนที่จำเป็นต้องอยู่เฉพาะในห้องเรียนค่อยๆเปลี่ยนไป

    ถึงแม้ว่าการประยุคใช้โซเชียลมีเดียในการศึกษาถือว่าเป็นวิวัฒนาการไปในทางที่ดี แต่หลายสถาบันการศึกษายังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการควบคุมการเผยแพร่เนื้อหา ข่าวสาร และสื่อการเรียนการสอนผ่านโซเชียลมีเดียเพราะสื่อส่วนใหญ่ที่ครูและอาจารย์เลือกใช้มักจะเป็นโซเชียลมีเดียส่วนตัว จึงมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเปิดเผยเนื้อหาที่สร้างความเสื่อมเสียมาให้กับทางสถาบันจากผู้ไม่ประสงค์ดี โดยที่ทางสถาบันไม่สามารถควบคุมการเผยแพร่ดังกล่าวได้

    อย่างไรก็ตาม การประยุคใช้โซเชียลมีเดีย หากใช้แบบถูกวิธี สามารถนำประโยชน์มาสู่วงการการศึกษาอย่างแน่นอนเนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถขจัดขีดจำกัดของการเรียนการสอนแบบเก่าไปได้หลายด้าน

    เทรนด์การใช้โซเชียลมีเดียในการศึกษาน่าจะเป็นที่นิยมขึ้นไปเรื่อยๆพร้อมกับการปรับตัวขององค์กรการศึกษาในการบริหารจัดการสื่อโซเชียลมีเดียและอาจจะเริ่มเห็นการประยุคใช้โซเชียลมีเดียองค์กร (Enterprise Social Media) มากขึ้นในปีค.ศ 2014
ทั้ง 3 เทรนด์นี้เป็นเทรนด์ในการศึกษาที่ทาง 9Pi Company เห็นว่าโดดเด่นที่สุดในปีค.ศ 2013 มีเทรนด์อื่นอะไรบ้างที่น่าสนใจในปีค.ศ 2013? สถาบันการศึกษาของคุณได้มีการประยุคใช้ 3 เทรนด์ที่กล่าวมานี้ในปีที่ผ่านมาบ้างหรือเปล่า? อย่าลืมโพสต์ความคิดเห็นข้างล่างกันนะครับ

ในบทความต่อไป เราจะนำ 5 เทรนด์ในการศึกษาที่น่าสนใจในปีค.ศ 2014 มานำเสนอครับ



Read More

Prinya - ถึงไหนแล้ว?

Prinya [ปริญญา] คือชุดโปรแกรมบริหารจัดการข้อมูลนักเรียนนักศึกษาอาจารย์และสื่อการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาเพื่อทำให้สถาบันการศึกษาสามารถนำผลิตภัณฑ์ใน Google Apps for Education ไปประยุคใช้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบ Prinya เป็นระบบที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดย 9Pi Company โดยที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาอย่าง สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และบริษัทเอกชนอย่าง Google Asia Pacific Pvt Lte

โปรแกรมที่อยู่ในชุด Prinya นั้นประกอบไปด้วย

  1. Registrar Administration System (RAS) - ระบบบริการวิชาการ ใช้สำหรับการบริหารจัดการหลักสูตร รายวิชา ครูอาจารย์ นักเรียนนักศึกษา คณะ ภาคเรียนและอื่นๆ
     
  2. Course Registration System (CRS) - ระบบลงทะเบียน ใช้สำหรับการลงทะเบียนในหลักสูตรวิชาต่างๆในแต่ละปีการศึกษา นักเรียนนักศึกษาจะเป็นผู้ใช้งานระบบ CRS เป็นหลัก
     
  3. Learning Management System (LMS) - ระบบ Virtual Learning Environment (VLE) หรือระบบการจัดการเรียนรู้รายวิชา ใช้สำหรับการกระจายข่าวสารและสื่อการเรียนการสอน การส่งการบ้าน การออกเกรด การบันทึกการเข้าเรียนและอื่นๆ ผู้ใช้งานหลักของระบบ LMS คือครูอาจารย์และนักเรียนนักศึกษา
     
  4. Portal - ระบบ Enterprise Information Portal (EIP) หรือระบบเว็บท่า เป็นระบบศูนย์รวมการเข้าถึงโปรแกรมอื่นๆไว้ที่หน้าเว็บไซต์เดียว ครูอาจารย์และนักเรียนนักศึกษาจะเป็นผู้ใช้งานหลักของระบบ Portal โดยที่ระบบจะดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องของผู้ใช้งานนั้นๆมาประมวลผลเท่านั้น (เช่น วิชาที่ลงเรียน / สอน ตารางการเรียน / การสอนส่วนตัว และอื่นๆ)
หากสถาบันการศึกษาของท่านมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ Prinya กับทาง 9Pi Company ขอความกรุณากรอกรายละเอียดติดต่อที่ Link นี้ ทางบริษัทจะติดต่อกลับภายใน 48 ชั่วโมง

คุณสามารถติดตามความคืบหน้าของการพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวได้ข้างล่างนี้:
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

[10/01/2014]: เสร็จสิ้นการศึกษาเทคโนโลยีและการออกแบบระบบ LMS และ Portal

[03/01/2014]: เสร็จสิ้นการเชื่อมต่อระบบ RAS กับผลิตภัณฑ์ต่างๆใน Google Apps for Education ผ่าน API

[27/12/2013]: เสร็จสิ้นการพัฒนาระบบความปลอดภัย ระบบ Log-in ผ่าน Google Authentication

[20/12/2013]: เสร็จสิ้นการพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลของระบบ RAS ส่วนรายละเอียดรายวิชาและระบบการโอนถ่ายข้อมูล

[
13/12/2013]: เสร็จสิ้นการพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลของระบบ RAS ส่วนการลงทะเบียนและทดสอบการ Deploy ระบบ RAS บน Cloud
[06/12/2013]: เสร็จสิ้นการพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลของระบบ RAS ส่วนหลักสูตรและรายวิชา

[29/11/2013]: เสร็จสิ้นการพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลของระบบ RAS ส่วนคณะ ภาควิชา ปีการศึกษาและเทอม

Read More

Monday, January 6, 2014

Chromebook น่าสนใจ จริงหรือ?

ตั้งแต่ที่มีการเปิดตัว Chromebook ในค.ศ. 2011 Google นั้นได้ถูกตั้งคำถามมาโดยตลอดว่าโปรเจ็ค Chromebook นั้นจะสามารถช่วยให้บริษัทเสิร์ชเอนจิ้นยักษ์ใหญ่นี้แย่งส่วนแบ่งการตลาดของระบบปฏิบัติการพีซีจากเจ้าเก่าอย่าง Microsoft และ Apple ได้จริงหรือ

ในขณะที่ระบบปฏิบัติการบนมือถือของ Google อย่าง Android นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและได้กลายเป็นระบบปฏิบัติการบนมือถือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดภายในเวลาแค่ 2 ปี Chromebook และ Chrome OS นั้นกำลังจะเข้าสู่ปีที่ 3 โดยที่ยังไม่มีวีแววว่าจะเป็นที่นิยมในเร็วๆนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้งานที่อยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ทั้งนี้ บริษัท The NPD Group, Inc. บริษัทวิจัย การตลาดชื่อดังของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่าความนิยมของ Chromebook และ Chrome OS น่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นในปีค.ศ. 2014


บริษัท The NPD Group, Inc. เปิดเผยว่าอัตราการจำหน่าย Chromebook นั้นอยู่ที่ประมาณ 10% ของจำนวนคอมพิวเตอร์ทั้งหมดและประมาณ 20% ของจำนวนแล็พท็อปทั้งหมดที่ถูกขายในปี 2013

อัตราการขายดังกล่าวถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากปี 2012 ซึ่งมีอัตราการขายในปี 2012 ใกล้ๆที่ 0% (The NPD Group, Inc. ประกาศว่าตัวเลขดังกล่าวนั้นน้อยเกินกว่าที่จะประกาศ - negligible)

ตัวเลขดังกล่าวอาจจะกำลังสะท้อนจุดเปลี่ยนในความนิยมของ Chromebook และ Chrome OS จึงทำให้เจ้าตลาดเจ้าเก่าอย่าง Microsoft ไม่สามารถอยู่นิ่งได้และได้ออกโฆษณามาหลายตัวเพื่อโจมตี Chromebook ในแคมเปญการตลาด "Don't Get Scroogled"

แต่ทว่าความพยายามดังกล่าวของ Microsoft นั้นดูเหมือนว่าจะกลับมาทำร้ายบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งเมืองเรดมอนด์เสียมากกว่า เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากแสดงความคิดเห็นว่าโฆษณาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า Microsoft นั้นกำลังกังวลเกี่ยวกับ Chromebook อย่างแท้จริง

ณ ตอนนี้ มีผู้ผลิตทั้งหมด 6 เจ้าที่กำลังจ่าย Chromebook อยู่ ณ ตอนนี้ ประกอบไปด้วย:
Dell, HP, Acer, Asus, Samsung และ Lenovo โดยที่จุดเด่นที่สุดของ Chromebook นั้นอยู่ที่ราคา

ถึงแม้ว่า Chromebook นั้นจะถูกจัดประเภทว่าเป็นแล็พท็อปชนิดหนึ่ง ราคาของ Chromebook นั้นอยู่ในเกฏเดียวกับแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน (The Acer C720 - $199, Samsung Chromebook - $279, HP Chromebook 11 - $309 และอื่นๆ)

ณ ตอนนี้ Chromebook นั้นยังคงไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม Chromebook นั้นได้มีการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ไปแล้วในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย

โครงการดังกล่าวนั้นเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงการศึกษาประเทศมาเลเซียและ Google โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติของประเทศมาเลเซีย โครงการดังกล่าวได้ทำการแจกบัญชี Google Apps ให้กับนักเรียน ครูและผู้ปกครองเป็นจำนวน 10 ล้านบัญชีและได้มีการสั่งซื้อ Chromebook ครั้งแรกเป็นจำนวน 116,399 เครื่อง
สำหรับประเทศไทยแล้ว Chromebook อาจจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้บริโภคและองค์กรที่ได้ใช้ Google Apps for Business และ Google Apps for Education อยู่แล้ว



Read More
© 9Pi Blog All rights reserved | Theme Designed by Seo Blogger Templates